งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา
SER


    บทความเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย  ตอนที่ 8 การขอผ่อนผันทางราชการทหารของนักศึกษาเพิ่มเติม

                   โดยทั่วไปนักศึกษาในสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย จะได้รับสิทธิ์ในการผ่อน
ผันการคัดเลือกทหาร    เพื่อให้การศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนสําเร็จการศึกษา แล้วค่อยรายงานตัวเพื่อเข้า
รับการคัดเลือกทหาร ซึ่งนักศึกษาจะสามารถขอผ่อนผันทหารได้จนสําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือโท
แต่จะต้องมีอายุไม่เกิน 26 ปีบริบูรณ์   ทั้งนี้ นักศึกษาที่ได้รับการผ่อนผันการคัดเลือกทหาร จะต้องไปแสดงตัว
หรือรายงานตัวต่อคณะกรรมการคัดเลือกทหารตามหมายเรียก(สด. 35) เป็นประจําทุกปี  ห้ามเพิกเฉยละเลย
เป็นอันขาด หากนักศึกษาไม่ไปแสดงตัวในวันคัดเลือกทหารตามหมายเรียก(สด. 35)   ดังกล่าว   จะถือว่า
นักศึกษาหลีกเลี่ยงหรือหนีราชการทหาร จะมีความผิดตามกฎหมายได้ 
                   แต่เนื่องจากการศึกษาในสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา จะมีนักศึกษาบาง
ท่านที่อาจต้องเดินทางไปฝึก ศึกษาดูงานยังต่างประเทศ เช่น ประเทศในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปออสเตรเลีย
ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศในทวีปเอเชีย เป็นต้น จึงทําให้นักศึกษาไม่สามารถไปแสดงตัวหรือรายงานตัวใน
วันที่มีการคัดเลือกทหารได้ 
                   ดังนั้น เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการเข้ารับราชการทหาร   นักศึกษาท่านที่ได้ยื่นเอกสาร
ขอผ่อนผันการคัดเลือกทหารแล้ว แต่มีความจําเป็นจะต้องไปศึกษา  ดูงาน ฝึกงานยังต่างประเทศ จะต้องรีบดําเนินการ
จัดเตรียมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนําไปยื่นที่  งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา  กองกิจการนักศึกษา
สํานักงานอธิการบดี เพื่อจะได้รวบรวมเอกสาร และขออนุญาตผ่อนผันการไปแสดงตัว   หรือรายงานตัวในวัน
คัดเลือกทหาร  ไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นายอําเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ตามลําดับ เมื่อได้รับ
การอนุญาตผ่อนผันแล้ว ก็จะสามารถเดินทางไปฝึก ศึกษา ดูงานยังต่างประเทศต่อไป เมื่อเสร็จจากการฝึก ศึกษาดู
งานจากต่างประเทศแล้ว ให้รีบไปรายงานตัวต่อนายอําเภอภูมิลําเนาเดิมโดยเร็ว
                   สําหรับหลักฐานเอกสารต่างๆ ที่ควรจัดเตรียมไว้ใช้ประกอบในการขออนุญาตผ่อนผันการไป
แสดงตัว  หรือรายงานตัวในวันคัดเลือกทหารดังกล่าว ได้แก่ 
1. หนังสือขอเข้าไปฝึก ศึกษา ดูงาน(สหกิจศึกษา)ต่างประเทศ(ถ้ามี) (ฉบับแปลเป็น
ภาษาไทย ควบคู่กับฉบับภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศนั้นๆ )
2. หนังสือตอบรับจากสถานศึกษา หรือหน่วยงานในต่างประเทศ ที่จะไปฝึก  ศึกษาดูงาน
(ฉบับแปลเป็นภาษาไทย ควบคู่กับฉบับภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศนั้นๆ )
3. หนังสือเชิญจากต่างประเทศ ให้มหาวิทยาลัยส่งนักศึกษาไปฝึก  ศึกษาดูงาน หรือ
แลกเปลี่ยน(สหกิจศึกษา) (ฉบับแปลเป็นภาษาไทย ควบคู่กับฉบับภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศนั้นๆ)
4. หนังสือตอบรับจากคณะนั้นๆ ที่จะส่งนักศึกษาที่เกี่ยวข้องไปฝึก  ศึกษาดูงาน ยัง
ต่างประเทศ(สหกิจศึกษา) (ฉบับแปลเป็นภาษาไทย ควบคู่กับฉบับภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศนั้นๆ)
5. หนังสือขออนุญาตจากประเทศต้นทาง เพื่อขอเดินทางไปต่างประเทศ(Passport)
6. หนังสือขออนุญาตจากประเทศปลายทาง เพื่อขอเดินทางเข้าประเทศ(Visa)
7. หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา(กรอกแบบฟอร์มขอรับได้ ที่สํานักบริหารและพัฒนาวิชาการ)
8. สําเนาหนังสือที่เคยขอผ่อนผันการคัดเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจําการ(ซึ่งมหาวิทยาลัย
    ได้มอบสําเนาให้นักศึกษาไว้แล้ว ช่วงที่ขอผ่อนผันในปีที่ผ่านๆ มา ซึ่งได้ขอผ่อนผันไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว)
9. สําเนาหนังสือสําคัญ สด. 9(หนังสือการขึ้นทะเบียนเป็นทหารกองเกิน)
10. สําเนาหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (สด. 35 ) ซึ่งเป็นหนังสือที่ให้ไปเข้ารับการคัดเลือกทหาร
11. สําเนาทะเบียนบ้านภูมิลําเนาเดิมของนักศึกษา
12. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน
13. สําเนาบัตรประจําตัวนักศึกษา
14. หนังสือรับรองของสถานกงสุล    หรือสถานทูต    หรือสถานเอกอัครราชฑูตประเทศนั้นๆ   โดย
ระบุให้ทราบว่า ให้นักศึกษาไปศึกษาวิชาใด สถานศึกษาใด ประเทศใด จํานวนปีที่ศึกษา (หลักสูตรกี่ปี)
ประสงค์ที่จะขอผ่อนผันจํานวนกี่ปี จะเดินทางเมื่อใด โดยยานพาหนะใด ทั้งนี้ เอกสารใดเป็นภาษาอังกฤษ หรือ
ภาษาต่างประเทศอื่นๆ ให้แปลเป็นภาษาไทย โดยให้ลงชื่อ ตําแหน่งผู้ที่แปลเอกสารด้วย

หมายเหตุ : เอกสารอ้างอิงจากหนังสือแนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ. ศ. 2497
               กองการสัสดี กรมการสรรพกําลังกลาโหม

ปรับปรุงข้อมูล : 21/4/2560 14:40:29     ที่มา : งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 33187

กลุ่มข่าวสาร :

ข่าวล่าสุด

การขอผ่อนผันการรายงานตัวในวันคัดเลือกทหารกรณีมีความจำเป็นไปศึกษา ดูงาน ฝึกงานต่างประเทศ
    บทความเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย  ตอนที่ 8 การขอผ่อนผันทางราชการทหารของนักศึกษาเพิ่มเติม                    โดยทั่วไปนักศึกษาในสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย จะได้รับสิทธิ์ในการผ่อน ผันการคัดเลือกทหาร    เพื่อให้การศึกษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนสําเร็จการศึกษา แล้วค่อยรายงานตัวเพื่อเข้า รับการคัดเลือกทหาร ซึ่งนักศึกษาจะสามารถขอผ่อนผันทหารได้จนสําเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือโท แต่จะต้องมีอายุไม่เกิน 26 ปีบริบูรณ์   ทั้งนี้ นักศึกษาที่ได้รับการผ่อนผันการคัดเลือกทหาร จะต้องไปแสดงตัว หรือรายงานตัวต่อคณะกรรมการคัดเลือกทหารตามหมายเรียก(สด. 35) เป็นประจําทุกปี  ห้ามเพิกเฉยละเลย เป็นอันขาด หากนักศึกษาไม่ไปแสดงตัวในวันคัดเลือกทหารตามหมายเรียก(สด. 35)   ดังกล่าว   จะถือว่า นักศึกษาหลีกเลี่ยงหรือหนีราชการทหาร จะมีความผิดตามกฎหมายได้                     แต่เนื่องจากการศึกษาในสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา จะมีนักศึกษาบาง ท่านที่อาจต้องเดินทางไปฝึก ศึกษาดูงานยังต่างประเทศ เช่น ประเทศในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศในทวีปเอเชีย เป็นต้น จึงทําให้นักศึกษาไม่สามารถไปแสดงตัวหรือรายงานตัวใน วันที่มีการคัดเลือกทหารได้                     ดังนั้น เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการเข้ารับราชการทหาร   นักศึกษาท่านที่ได้ยื่นเอกสาร ขอผ่อนผันการคัดเลือกทหารแล้ว แต่มีความจําเป็นจะต้องไปศึกษา  ดูงาน ฝึกงานยังต่างประเทศ จะต้องรีบดําเนินการ จัดเตรียมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนําไปยื่นที่  งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา  กองกิจการนักศึกษา สํานักงานอธิการบดี เพื่อจะได้รวบรวมเอกสาร และขออนุญาตผ่อนผันการไปแสดงตัว   หรือรายงานตัวในวัน คัดเลือกทหาร  ไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นายอําเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ตามลําดับ เมื่อได้รับ การอนุญาตผ่อนผันแล้ว ก็จะสามารถเดินทางไปฝึก ศึกษา ดูงานยังต่างประเทศต่อไป เมื่อเสร็จจากการฝึก ศึกษาดู งานจากต่างประเทศแล้ว ให้รีบไปรายงานตัวต่อนายอําเภอภูมิลําเนาเดิมโดยเร็ว                    สําหรับหลักฐานเอกสารต่างๆ ที่ควรจัดเตรียมไว้ใช้ประกอบในการขออนุญาตผ่อนผันการไป แสดงตัว  หรือรายงานตัวในวันคัดเลือกทหารดังกล่าว ได้แก่  1. หนังสือขอเข้าไปฝึก ศึกษา ดูงาน(สหกิจศึกษา)ต่างประเทศ(ถ้ามี) (ฉบับแปลเป็น ภาษาไทย ควบคู่กับฉบับภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศนั้นๆ ) 2. หนังสือตอบรับจากสถานศึกษา หรือหน่วยงานในต่างประเทศ ที่จะไปฝึก  ศึกษาดูงาน (ฉบับแปลเป็นภาษาไทย ควบคู่กับฉบับภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศนั้นๆ ) 3. หนังสือเชิญจากต่างประเทศ ให้มหาวิทยาลัยส่งนักศึกษาไปฝึก  ศึกษาดูงาน หรือ แลกเปลี่ยน(สหกิจศึกษา) (ฉบับแปลเป็นภาษาไทย ควบคู่กับฉบับภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศนั้นๆ) 4. หนังสือตอบรับจากคณะนั้นๆ ที่จะส่งนักศึกษาที่เกี่ยวข้องไปฝึก  ศึกษาดูงาน ยัง ต่างประเทศ(สหกิจศึกษา) (ฉบับแปลเป็นภาษาไทย ควบคู่กับฉบับภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศนั้นๆ) 5. หนังสือขออนุญาตจากประเทศต้นทาง เพื่อขอเดินทางไปต่างประเทศ(Passport) 6. หนังสือขออนุญาตจากประเทศปลายทาง เพื่อขอเดินทางเข้าประเทศ(Visa) 7. หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา(กรอกแบบฟอร์มขอรับได้ ที่สํานักบริหารและพัฒนาวิชาการ) 8. สําเนาหนังสือที่เคยขอผ่อนผันการคัดเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจําการ(ซึ่งมหาวิทยาลัย     ได้มอบสําเนาให้นักศึกษาไว้แล้ว ช่วงที่ขอผ่อนผันในปีที่ผ่านๆ มา ซึ่งได้ขอผ่อนผันไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว) 9. สําเนาหนังสือสําคัญ สด. 9(หนังสือการขึ้นทะเบียนเป็นทหารกองเกิน) 10. สําเนาหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (สด. 35 ) ซึ่งเป็นหนังสือที่ให้ไปเข้ารับการคัดเลือกทหาร 11. สําเนาทะเบียนบ้านภูมิลําเนาเดิมของนักศึกษา 12. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน 13. สําเนาบัตรประจําตัวนักศึกษา 14. หนังสือรับรองของสถานกงสุล    หรือสถานทูต    หรือสถานเอกอัครราชฑูตประเทศนั้นๆ   โดย ระบุให้ทราบว่า ให้นักศึกษาไปศึกษาวิชาใด สถานศึกษาใด ประเทศใด จํานวนปีที่ศึกษา (หลักสูตรกี่ปี) ประสงค์ที่จะขอผ่อนผันจํานวนกี่ปี จะเดินทางเมื่อใด โดยยานพาหนะใด ทั้งนี้ เอกสารใดเป็นภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาต่างประเทศอื่นๆ ให้แปลเป็นภาษาไทย โดยให้ลงชื่อ ตําแหน่งผู้ที่แปลเอกสารด้วย หมายเหตุ : เอกสารอ้างอิงจากหนังสือแนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ. ศ. 2497                กองการสัสดี กรมการสรรพกําลังกลาโหม
21 เมษายน 2560     |      33188
การรับรองสำเนาเอกสารที่ถูกต้อง เหมาะสม
              บทความเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ตอนที่ 7 การรับรองสําเนาเอกสารที่ถูกต้อง เหมาะสม                    ด้วยปัจจุบันคนไทยเราจะดํารงชีวิตอยู่ ค่อนข้างยากลําบากมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าด้านสังคม เศรษฐกิจ  ในท่ามกลางความซับซ้อน  หลากหลายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือนักศึกษา ต่างก็ ประสบปัญหาด้วยกันทั้งนั้น  ซึ่งแตกต่างกันไป   ดังนั้น   จะต้องมีความระมัดระวัง รอบคอบในทุกด้าน เพื่อเป็นการป้องกัน   และบรรเทาปัญหาที่เผชิญอยู่    รวมทั้งยับยั้งอุปสรรคที่จะเข้ามาในภายหลัง โดยเฉพาะขณะนี้   เศรษฐกิจของโลกค่อนข้างผันผวน   ข้าวของมีราคาแพง ต้องวางแผนการใช้จ่าย อย่างประหยัดและตามความจําเป็น สําหรับผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่แล้วก็ถือว่าเป็นผู้โชคดี สามารถ ดิ้นรน ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ไปได้ โดยไม่ยากนัก                    ในที่นี้ อยากจะมอบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในบางด้าน ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา ได้ไม่มากก็น้อย แม้ว่าอุปสรรคปัญหายังไม่เกิดขึ้น  โดยเฉพาะการนําเอกสารสําคัญไปประกอบในการ จัดทําธุรกรรมต่างๆ  ไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างการศึกษา  หรือสําเร็จการศึกษาไปแล้ว    ซึ่งในการติดต่อ ประสานงานต่างๆ  ทั้งกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน  จะต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปด้วย  อาทิ สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน  สําเนาทะเบียนบ้าน ทั้งนี้  เจ้าของบัตรจะต้องรับรองสําเนาเอกสารให้ ถูกต้องด้วย แต่เพื่อป้องปรามหรือป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัตรหรือเอกสาร นําเอกสารไป ทําสําเนาใหม่เพื่อประกอบธุรกรรมอื่น  ฉะนั้น จึงได้รวบรวมข้อแนะนําจากผู้รู้ที่เกี่ยวข้องนํามาเผยแพร่ ให้นักศึกษา ได้ทราบในเบื้องต้นเกี่ยวกับการรับรองเอกสารดังนี้                    1. ต้องเขียนกํากับไว้ด้วยว่า เอกสารฉบับนั้นๆ ใช้ทําอะไรเท่านั้น เช่น ใช้ในการ สมัครงานเท่านั้น ใช้เฉพาะขออนุญาตทําใบขับขี่รถจักรยานยนต์เท่านั้น เป็นต้น                    2. เขียนหรือกํากับวัน เดือน ปี ไว้ด้วยทุกครั้ง เพื่อการกําหนดอายุการใช้งานของ สําเนาเอกสารนั้นๆ ได้                     3. ให้เขียนข้อความทับลงบนสําเนาเอกสารนั้นๆ ได้แก่ สําเนาบัตรประจําตัว ประชาชน สําเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารสําคัญอื่นๆ                    4. ให้ใช้ปากกาสีดําเขียนเท่านั้น ทั้งนี้ ป้องกันการดึงหมึกสีน้ำเงินออก โดยเครื่อง ถ่ายเอกสารบางชนิด ที่บุคคลอื่นอาจดัดแปลง แก้ไขและเซ็นรับรองสําเนาแทนได้                     5. อาจขีดเส้นยาวหนึ่งเส้น หรือขีดสองเส้นขนานกัน หรือไม่ขีดเส้นก็ได้ แล้วเขียน รับรองสําเนาถูกต้อง เอกสารอ้างอิง : หนังสือความปรารถนาดีจาก กสท. โทรคมนาคม                  : หนังสือความปรารถนาดีจากสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค                    www.lifestyle.campus-star.com/knowledge www.ocpb.go.th      หมายเหตุ : ทั้งนี้ นักศึกษาอาจดูตัวอย่างจากกล่องเอกสารได้
11 เมษายน 2560     |      13222
การขอผ่อนผันการคัดเลือกทหารของนักศึกษา
บทความเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ตอนที่ 6 การติดตามข่าวสารการผ่อนผันการคัดเลือกทหาร ประจําปีการศึกษา 2561                 เนื่องด้วยในเดือนเมษายนของทุกปี จะมีการคัดเลือกทหาร เพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจําการ ดังนั้น ชายไทยทุกคนจะต้องมีหน้าที่ต้องไปแสดงตัวเพื่อคัดเลือกเข้ารับราชการทหาร ยกเว้นบุคคลที่มีความจําเป็นบางประเภท   อาจมีข้อยกเว้นของทางราชการทหาร รวมทั้งนักเรียน นักศึกษาที่อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อรับปริญญาบัตร โดยเฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งในปีการศึกษา 2561 นี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะดําเนินการขอผ่อนผันการคัดเลือกทหาร  สําหรับนักศึกษาชายที่เกิด พ.ศ. 2541  จึงขอให้นักศึกษาชาย ที่มีอายุ 20 ปีและไม่ได้ศึกษาวิชาทหารจนสําเร็จการศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 3 โดยนําเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยื่นขอรับการผ่อนผันคัดเลือกทหาร ที่งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา  สํานักงานอธิการบดี  มหาวิทยาลัยแม่โจ้  อาคารอำนวย ยศสุข  โทร.053-873070  เว็บไซต์  www.stu.mju.ac.th  ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561  เป็นต้นไป   ได้แก่ สําเนาหนังสือใบสําคัญทหารกองเกิน(สด. 9)  จํานวน 1 ฉบับพร้อมรับรองสําเนาถูกต้องด้วยปากกาสีน้ําเงิน   สําเนาหนังสือหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร(สด. 35) จํานวน 1 ฉบับพร้อมรับรองสําเนาถูกต้องด้วยปากกาสีน้ําเงิน  สําเนาทะเบียนบ้านภูมิลำเนาเดิม  จํานวน 1 ฉบับพร้อมรับรองสําเนาถูกต้องด้วยปากกาสีน้ําเงิน และสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน จํานวน 1 ฉบับพร้อมรับรองสําเนาถูกต้องด้วยปากกาสีน้ําเงิน ในการนี้ จึงขอให้นักศึกษาชายที่มีอายุ 20 ปีข้างต้น รีบดําเนินการไปยื่นเอกสารดังกล่าวแต่เนิ่นๆ เพราะในปีการศึกษาที่ผ่านมา จะมีนักศึกษาที่ไม่ได้ยื่นเอกสารขอผ่อนผันตามกําหนด เป็นจํานวนมาก  ต้องลาพักการศึกษาเล่าเรียนไว้ก่อน  ทําให้เสียโอกาสในการศึกษาอย่างต่อเนื่องจนสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี  ซึ่งเมื่อสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแล้ว  ค่อยไปเข้ารับการคัดเลือกทหารโดยนําสําเนาใบปริญญาบัตร   ไปแสดงพร้อมหลักฐานเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  เพราะหลักฐานการศึกษาจะใช้เป็นส่วนลดระยะเวลาการเข้ารับราชการทหารหากจับฉลากได้  ทั้งนี้  นักศึกษาชายที่มีอายุ 20 ปี  ส่วนมากจะพักอาศัยอยู่ในหอพักภายนอกมหาวิทยาลัย อาจมีการตกหล่นข่าวสารต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยได้  จึงควรติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ  อาทิ  เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา (www.stu.mju.ac.th) งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา  หรือคู่มือเตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาใหม่และเสริมสร้างอัตลักษณ์ความเป็นลูกแม่โจ้   ซึ่งได้จัดทําเป็นรูปเล่มส่งให้นักศึกษาใหม่ทุกคน และดูในคู่มือดังกล่าวที่ได้นําลงเว็บไซต์ด้วยแล้ว สงสัยสอบถามครูพงษ์สันต์ สมบัติ 098-0068234 เอกสารอ้างอิง : หนังสือแนวทางการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 โดยกองการสัสดี กรมการสรรพกําลังกลาโหม                  : คู่มือการขอผ่อนผันการเข้ารับราชการทหารกองประจําการของสํานักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ                 : คู่มือเตรียมความพร้อมก่อนร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาใหม่และเสริมสร้างอัตลักษณ์ความเป็นลูกแม่โจ้
3 กันยายน 2561     |      9911
การประชาสัมพันธ์ภารกิจหน้าที่ของงานบริการและสวัสดิการนักศึกษา
งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา  มีภารกิจหน้าที่ในการให้บริการทั่วไปแก่นักศึกษา ได้แก่  การขอผ่อนผันการคัดเลือกทหารไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด  ขอผ่อนผันรับราชการทหารเพื่อศึกษาต่อ ไปยังกระทรวงกลาโหม  การฝึกศึกษาวิชาทหาร(รด) การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแก่นักศึกษา  การบริการยานพาหนะ  การย้ายทะเบียนบ้านเข้า-ออกของนักศึกษา การบริการสำเนาทะเบียนบ้านแก่นักศึกษาที่ย้ายทะเบียนบ้านมายังมหาวิทยาลัย  การให้บริการขอใช้ห้องประชุมในอาคารอำนวย  ยศสุข  การกำกับดูแลสวนสุขภาพ ศาสตราจารย์ ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย เทิดพระเกียรติ  การจัดหาหอพักเอกชนในเครือข่ายมหาวิทยาลัยแม่โจ้แก่นักศึกษา หลักสูตร 4 ปีเทียบเข้าเรียน  การกำกับดูแลอาคารพัฒนาวิสัยทัศน์นักศึกษา การจัดทำคู่มือเตรียมความพร้อมก่อนรายงานตัวเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาใหม่ทุกปี การกำกับดูแลโรงอาหารอาคารเทิดกสิกร(โรงอาหารกลาง) ตลอดจนการบริหารจัดการทั่วไปของอาคารอำนวย  ยศสุข ตลอดจนการจัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยแก่นักศึกษาในกลุุ่มอาคารหอพักนักศึกษาชาย-หญิงของมหาวิทยาลัยทุกปีการศึกษา(มีนักศึกษากว่า 3,000 คน) โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาวิชาทหารทุกปี(ก่อนการเข้ารับการฝึกศึกษาวิชาทหารและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย สังคมและส่วนรวมเนื่องในโอกาสต่างๆ ) โครงการอาหารปลอดภัยประจำปี(ตรวจสารพิษ  หลักโภชนาการ สุขลักษณะ) โครงการสุขาภิบาลร้านค้า(อาหาร)ภายในมหาวิทยาลัย 
2 กันยายน 2559     |      20025