บทความเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ตอนที่ 7 การรับรองสําเนาเอกสารที่ถูกต้อง เหมาะสม
ด้วยปัจจุบันคนไทยเราจะดํารงชีวิตอยู่ ค่อนข้างยากลําบากมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าด้านสังคม
เศรษฐกิจ ในท่ามกลางความซับซ้อน หลากหลายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลทั่วไปหรือนักศึกษา ต่างก็
ประสบปัญหาด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งแตกต่างกันไป ดังนั้น จะต้องมีความระมัดระวัง รอบคอบในทุกด้าน
เพื่อเป็นการป้องกัน และบรรเทาปัญหาที่เผชิญอยู่ รวมทั้งยับยั้งอุปสรรคที่จะเข้ามาในภายหลัง
โดยเฉพาะขณะนี้ เศรษฐกิจของโลกค่อนข้างผันผวน ข้าวของมีราคาแพง ต้องวางแผนการใช้จ่าย
อย่างประหยัดและตามความจําเป็น สําหรับผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่แล้วก็ถือว่าเป็นผู้โชคดี สามารถ
ดิ้นรน ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ไปได้ โดยไม่ยากนัก
ในที่นี้ อยากจะมอบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในบางด้าน ที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา
ได้ไม่มากก็น้อย แม้ว่าอุปสรรคปัญหายังไม่เกิดขึ้น โดยเฉพาะการนําเอกสารสําคัญไปประกอบในการ
จัดทําธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างการศึกษา หรือสําเร็จการศึกษาไปแล้ว ซึ่งในการติดต่อ
ประสานงานต่างๆ ทั้งกับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน จะต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องไปด้วย อาทิ
สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน สําเนาทะเบียนบ้าน ทั้งนี้ เจ้าของบัตรจะต้องรับรองสําเนาเอกสารให้
ถูกต้องด้วย แต่เพื่อป้องปรามหรือป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของบัตรหรือเอกสาร นําเอกสารไป
ทําสําเนาใหม่เพื่อประกอบธุรกรรมอื่น ฉะนั้น จึงได้รวบรวมข้อแนะนําจากผู้รู้ที่เกี่ยวข้องนํามาเผยแพร่
ให้นักศึกษา ได้ทราบในเบื้องต้นเกี่ยวกับการรับรองเอกสารดังนี้
1. ต้องเขียนกํากับไว้ด้วยว่า เอกสารฉบับนั้นๆ ใช้ทําอะไรเท่านั้น เช่น ใช้ในการ
สมัครงานเท่านั้น ใช้เฉพาะขออนุญาตทําใบขับขี่รถจักรยานยนต์เท่านั้น เป็นต้น
2. เขียนหรือกํากับวัน เดือน ปี ไว้ด้วยทุกครั้ง เพื่อการกําหนดอายุการใช้งานของ
สําเนาเอกสารนั้นๆ ได้
3. ให้เขียนข้อความทับลงบนสําเนาเอกสารนั้นๆ ได้แก่ สําเนาบัตรประจําตัว
ประชาชน สําเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารสําคัญอื่นๆ
4. ให้ใช้ปากกาสีดําเขียนเท่านั้น ทั้งนี้ ป้องกันการดึงหมึกสีน้ำเงินออก โดยเครื่อง
ถ่ายเอกสารบางชนิด ที่บุคคลอื่นอาจดัดแปลง แก้ไขและเซ็นรับรองสําเนาแทนได้
5. อาจขีดเส้นยาวหนึ่งเส้น หรือขีดสองเส้นขนานกัน หรือไม่ขีดเส้นก็ได้ แล้วเขียน
รับรองสําเนาถูกต้อง
เอกสารอ้างอิง : หนังสือความปรารถนาดีจาก กสท. โทรคมนาคม
: หนังสือความปรารถนาดีจากสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
www.lifestyle.campus-star.com/knowledge
www.ocpb.go.th
หมายเหตุ : ทั้งนี้ นักศึกษาอาจดูตัวอย่างจากกล่องเอกสารได้